วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
Manchester United emblem
ชื่อเต็ม Manchester United Football Club
ฉายา ปิศาจแดง
ก่อตั้ง ค.ศ. 1878
สนามกีฬา โอลด์แทรฟฟอร์ด
แมนเชสเตอร์
(ความจุ: 76,212 คน)
เจ้าของ Malcolm Gelzer
ประธาน Flag of อังกฤษ เดวิด กิลล์
Flag of the United States โจเอล เกลเซอร์
Flag of the United States อัฟราม เกลเซอร์
ผู้จัดการ Flag of สกอตแลนด์ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ลีก เอฟเอ พรีเมียร์ลีก
2008-09 ชนะเลิศ

สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (Manchester United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ มีสนามเหย้าคือโอลด์แทรฟฟอร์ดในเมืองแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสโมสรหนึ่ง โดยชนะเลิศแชมป์ลีก 18 ครั้ง (เอฟเอ พรีเมียร์ลีก/ดิวิชัน 1) ชนะเอฟเอคัพ 11 ครั้ง ลีกคัพ 3 ครั้ง ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 3 ครั้ง และชนะ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์สคัพ อินเตอร์เนชันแนลคัพ และ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ อย่างละ 1 ครั้ง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยมีผู้สนับสนุนถึง 50 ล้านคนทั่วโลก[1]โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสถิติผู้เข้าชมมากที่สุดในฟุตบอลอังกฤษตลอด 34 ฤดูกาล ยกเว้นในฤดูกาล 1987-89 ที่ปรับปรุงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด[2] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 สโมสรได้ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดมหาชน อย่างไรก็ตาม ในปีพ.ศ. 2548 มัลคอล์ม เกลเซอร์ได้เทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรเป็นผลสำเร็จ และนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน[3]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์สโมสร

อ้างอิงตามชื่อฤดูกาล ซึ่งเป็นปี ค.ศ.

[แก้] สโมสรในช่วงแรก (1878-1945)

สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งโดยกลุ่มพนักงานกรรมกรในเหมืองแร่ถ่าน หินในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในตอนแรกนั้นเป็นเพียงแค่สโมสรชั้นต่ำที่ทำการแข่งขันกันระหว่างคนงาน ด้วยกัน ต่อมามีพนักงานคนหนึ่งชื่อ J.C. Kuya เป็นคนผิวดำ มีเชื้อชาติแอฟริกัน ได้ออกมาประกาศว่าสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจะก้าวไปเป็น 1 ในสโมสรที่ดีที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจากคำพูดนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมากภายในกลุ่มคนงานด้วยกัน เนื่องจาก Kuya นั้น เป็นเพียงแค่ตัวสำรองในทีมซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับกล้าออกความเห็นในที่สาธารณะ ซึ่งควรจะเป็นสิทธิของคนที่เป็นกัปตันทีม ซึ่งในขณะนั้น คือ Donny Dever ชาวอังกฤษโดยกำเนิด มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบเมืองลิเวอร์พูล แต่เนื่องจากตกงานเป็นเวลานานจึงระหกระเหเร่ร่อนออกมาเป็นคนงานเหมืองแร่ใน แถบเมืองแมนเชสเตอร์ ความขัดแย้งในครั้งนี้รุนแรงมากถึงขนาดมีการแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนขาว นำโดย Dever และกลุ่มคนดำ นำโดย Kuya ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สโมสรเลยทีเดียว โดยมีผู้เสียชีวิตมากเกือบร้อยคน แต่เรื่องนี้กลับถูกปิดเป็นความลับที่มีน้อยคนนักที่ได้รู้

[แก้] ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969)

แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา

บัสบี้เป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย

ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิค หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟีได้ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น

หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มา เสริมทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบ๊อบบี้ ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเค้า และจอร์จ เบสต์ได้ รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปีย น คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ

บัสบี้ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน

[แก้] 1969-1986

สัญลักษณ์สโมสรในช่วง 1970

สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส, แฟรงค์ โอนีล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้า มาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของ นักกายภาพบำบัด

เดฟ เซกซ์ตันได้ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981

รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน ร็อบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคั่น ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจส์ และนอร์แมน ไวท์ไซด์ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983

ปี 1985 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป

[แก้] ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-ปัจจุบัน)

อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้

ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก

สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ

เอริค คันโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมา ร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี้ ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม

ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลง โทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับ เบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความ สำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่

สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น

ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟา แชมเปี้ยนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์น มิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี้ เชอริงแฮม และ "เพชรฆาตหน้าทารก" โอเล่ กุนนาร์ โซลชา

จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นท่านเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งท่านเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 2 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์

แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์กเตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสร ไม่ว่าจะเป็นยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน กัปตันทีม, หรือแม้กระทั่งรุด ฟาน นิสเตลรอย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน

ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมี เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกร และริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามี เวย์น รูนี่ย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 3 ปีติดต่อกันในปี 2006-2009 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008

[แก้] การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์

ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต[4][5] ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้[6] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน[7] เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ[3] มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์[8]

[แก้] ทีมงานประจำสโมสร

บริษัท แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำกัด

  • ประธานสโมสรร่วม – โจเอล เกลเซอร์และอาฟราม เกลเซอร์
  • ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร – เดวิด กิลล์
  • ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ - มิชาเอล โบลิ่งโบรค
  • ผู้อำนวยการด้านการค้า – ริชาร์ด อาร์โนลด์
  • ผู้อำนวยการบริหาร - เอ็ด วู้ดเวิร์ด
  • ผู้อำนวยการ – ไบรอัน เกลเซอร์ / เควิน เกลเซอร์ / เอ็ดเวิร์ด เกลเซอร์ / ดาร์ซี่ เกลเซอร์

สโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

ทีมผู้ฝึกสอนและแพทย์

[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข
ตำแหน่ง ผู้เล่น
1 Flag of the Netherlands GK เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์
2 Flag of อังกฤษ DF แกรี่ เนวิลล์
3 Flag of ฝรั่งเศส DF ปาทริซ เอวร่า
4 Flag of อังกฤษ MF โอเว่น ฮาร์กรีฟส์
5 Flag of อังกฤษ DF ริโอ เฟอร์ดินานด์
6 Flag of อังกฤษ DF เวส บราวน์
7 Flag of อังกฤษ FW ไมเคิ่ล โอเว่น
8 Flag of บราซิล MF อันแดร์สัน
9 Flag of บัลแกเรีย FW ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ
10 Flag of อังกฤษ FW เวย์น รูนี่ย์
11 Flag of เวลส์ MF ไรอัน กิ๊กส์ (กัปตันทีม)
12 Flag of อังกฤษ GK เบน ฟอสเตอร์
13 Flag of เกาหลีใต้ MF พาร์ค จีซอง
14 Flag of เซอร์เบีย MF โซรัน โทซิช
15 Flag of เซอร์เบีย DF เนมานย่า วิดิช

หมายเลข
ตำแหน่ง ผู้เล่น
16 Flag of อังกฤษ DF ไมเคิ่ล คาร์ริค
17 Flag of โปรตุเกส MF หลุยส์ นานี่
18 Flag of อังกฤษ MF พอล สโคลส์
19 Flag of อังกฤษ FW แดนนี่ เวลเบ็ค
20 Flag of บราซิล DF ฟาบิโอ ดา ซิลวา
21 Flag of บราซิล DF ราฟาเอล ดา ซิลวา
22 Flag of Ireland DF จอห์น โอเช
23 Flag of ไอร์แลนด์เหนือ DF จอนนี่ อีแวนส์
24 Flag of สกอตแลนด์ MF ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์
25 Flag of เอกวาดอร์ MF อันโตนิโอ วาเลนเซีย
26 Flag of ฝรั่งเศส FW กาเบรียล โอแบร์กต็อง
27 Flag of อิตาลี FW เฟเดอริโก้ มาเคด้า
28 Flag of Ireland MF ดาร์รอน กิ๊บสัน
29 Flag of โปแลนด์ GK โทมัส คุสแช็ค
32 Flag of เซเนกัล FW มาเม่ บิรัม ดิยุฟ

[แก้] ผู้เล่นถูกยืมตัว

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข
ตำแหน่ง ผู้เล่น

Flag of บราซิล MF โรดริโก้ พอสเซบอน (บราก้า ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553)

Flag of เซเนกัล FW มาเม่ บริแรม ดิยุฟ (โมลเด้ เอฟเค)

[แก้] ผู้เล่นที่โด่งดัง

ผู้เล่นซึ่งลงสนามตั้งแต่ 100 ครั้งขึ้นไป (รวมทั้งในฐานะตัวสำรอง) อย่างไรก็ตาม รวมผู้เล่นบางคนที่เล่นน้อยกว่า 100 ครั้งแต่มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของสโมสรด้วย (เช่น เลียม วีแลน)

ผู้เล่นเรียงลำดับตามวันที่ลงสนามให้สโมสรครั้งแรกของพวกเขา จำนวนครั้งและประตูนับเฉพาะการแข่งขันของทีมชุดแรกเท่านั้น รวมการแข่งขันในเวลาสงครามด้วย

สถิติ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)

ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง เล่นให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง) รวม ประตู
อัลฟ์ ฟาร์แมน Flag of อังกฤษ FW 1889-1895 121(0) 121 53
วิลลี่ สจวร์ต Flag of สกอตแลนด์ HB 1890-1895 149(0) 149 23
บ๊อบ โดนัลด์สัน Flag of สกอตแลนด์ FW 1892-1897 147(0) 147 66
เฟรด อีเรนทซ์ Flag of สกอตแลนด์ LB 1892-1902 303(0) 303 9
โจ แคสสิดี้ Flag of สกอตแลนด์ FW 1893, 1895-1900 167(0) 167 99
เจมส์ แมคนอท Flag of สกอตแลนด์ HB 1893-1898 157(0) 157 12
ดิค สมิธ Flag of อังกฤษ FW/LW 1894-1898, 1900-1901 100(0) 100 37
วอลเตอร์ คาร์ทไรท์ Flag of อังกฤษ HB 1895-1905 257(0) 257 8
แฮร์รี่ สแตฟฟอร์ด Flag of อังกฤษ RB 1896-1903 200(0) 200 1
วิลเลียม ไบรแอนท์ Flag of อังกฤษ FW 1896-1900 127(0) 127 33
แฟรงค์ บาร์เร็ทท์ Flag of สกอตแลนด์ GK 1896-1900 132(0) 132 0
บิลลี่ มอร์แกน Flag of อังกฤษ HB 1897-1903 152(0) 152 7
บิลลี่ กริฟฟิทส์ Flag of อังกฤษ HB 1899-1905 175(0) 175 30
อัลฟ์ สโคฟิลด์ Flag of อังกฤษ FW 1900-1907 179(0) 179 35
วินซ์ เฮยส์ Flag of อังกฤษ RB 1901-1907, 1908-1910 128(0) 128 2
แจ็ค เพดดี้ Flag of สกอตแลนด์ FW 1902-1903, 1904-1907 121(0) 121 58
อเล็กซ์ ดาวนี่ Flag of สกอตแลนด์ HB 1902-1909 191(0) 191 14
อเล็กซ์ เบลล์ Flag of สกอตแลนด์ HB 1903-1913 309(0) 309 10
บ็อบ บอนทรอน Flag of สกอตแลนด์ RB 1903-1907 134(0) 134 3
แฮร์รี่ โมเจอร์ Flag of อังกฤษ GK 1903-1912 266(0) 266 0
ดิค ดั๊กเวิร์ธ Flag of อังกฤษ HB 1903-1915 254(0) 254 11
ชาร์ลี โรเบิร์ตส์ Flag of อังกฤษ HB 1904-1913 302(0) 302 23
ดิค โฮลเดน Flag of อังกฤษ RB 1905-1914 117(0) 117 0
แจ็ค พิคเค็น Flag of สกอตแลนด์ FW 1905-1911 122(0) 122 46
จอร์จ วอลล์ Flag of อังกฤษ LW 1906-1915 319(0) 319 100
บิลลี่ เมเรดิธ Flag of เวลส์ RW 1907-1921 335(0) 335 36
แซนดี้ เทิร์นบูล Flag of สกอตแลนด์ FW 1907-1915 247(0) 247 101
จอร์จ สเตซี่ย์ Flag of อังกฤษ LB 1907-1915 270(0) 270 9
แฮโรลด์ ฮอลซ์ Flag of อังกฤษ FW 1908-1912 125(0) 125 56
อาเธอร์ วอลเลย์ Flag of อังกฤษ HB 1909-1920 106(0) 106 6
อีนอช เวสต์ Flag of อังกฤษ FW 1910-1916 181(0) 181 80
โรเบิร์ต บีล Flag of อังกฤษ GK 1912-1919 112(0) 112 0
แจ็ค มิว Flag of อังกฤษ GK 1912-1926 199(0) 199 0
แลล ฮิลดิทช์ Flag of อังกฤษ HB 1919-1932 322(0) 322 7
แจ็ค ซิลค็อค Flag of อังกฤษ LB 1919-1934 449(0) 449 2
โจ สเปนซ์ Flag of อังกฤษ FW 1919-1933 510(0) 510 168
ชาร์ลี มัวร์ Flag of อังกฤษ RB 1919-1921, 1922-1931 328(0) 328 0
จอห์น กริมวู้ด Flag of อังกฤษ HB 1919-1927 205(0) 205 8
เท็ดดี้ พาร์ทริดจ์ Flag of อังกฤษ FW 1920-1929 160(0) 160 18
อัลฟ์ สจวร์ต Flag of อังกฤษ GK 1920-1932 326(0) 326 0
เรย์ เบนเนียน Flag of อังกฤษ HB 1921-1932 301(0) 301 3
อาเธอร์ ลอชเฮด Flag of สกอตแลนด์ FW 1921-1925 153(0) 153 50
แฮร์รี่ โทมัส Flag of เวลส์ FW 1922-1931 135(0) 135 13
แฟรงค์ บาร์สัน Flag of อังกฤษ HB 1922-1928 152(0) 152 4
แฟรงค์ มันน์ Flag of อังกฤษ HB 1923-1930 197(0) 197 5
แฟรงค์ แมคเฟอร์สัน Flag of อังกฤษ LW 1923-1928 175(0) 175 52
ทอม โจนส์ Flag of อังกฤษ FB 1924-1937 200(0) 200 0
จิมมี่ แฮนสัน Flag of อังกฤษ FW 1924-1931 147(0) 147 52
แจ็ค วิลสัน Flag of อังกฤษ HB 1926-1932 140(0) 140 3
ฮิวจ์ แมคลีนาแฮน Flag of อังกฤษ HB 1928-1937 116(0) 116 12
แฮร์รี่ โรว์เลย์ Flag of อังกฤษ FW 1928-1932, 1934-1937 180(0) 180 55
ทอม รีด Flag of สกอตแลนด์ FW 1929-1933 101(0) 101 67
จอร์จ แมคแลชแลน Flag of สกอตแลนด์ FW 1929-1933 116(0) 116 4
แจ็ค เมลเลอร์ Flag of อังกฤษ HB 1930-1937 122(0) 122 0
ทอม แมนเลย์ Flag of อังกฤษ HB 1930-1939 195(0) 195 41
จอร์จ โวส Flag of อังกฤษ HB 1933-1939 209(0) 209 1
แจ็ค กริฟฟิธส์ Flag of อังกฤษ LB 1934-1944 173(0) 173 1
บิล แมคเคย์ Flag of สกอตแลนด์ HB 1934-1940 182(0) 182 15
จอร์จ มัทช์ Flag of สกอตแลนด์ FW 1934-1937 120(0) 120 49
โทมัส แบมฟอร์ด Flag of เวลส์ FW 1934-1938 109(0) 109 57
บิลลี่ ไบรแอนท์ Flag of อังกฤษ FW 1934-1939 157(0) 157 42
เจมส์ บราวน์ Flag of สกอตแลนด์ HB 1935-1939 110(0) 110 1
จอหน์นี่ แคเรย์ Flag of Ireland FB 1937-1953 344(0) 344 17
แจ็ค โรว์เลย์ Flag of อังกฤษ FW 1937-1955 424(0) 424 211
สแตน เพียร์สัน Flag of อังกฤษ FW 1937-1954 343(0) 343 148
แจ็ค วอร์เนอร์ Flag of เวลส์ HB 1938-1950 116(0) 116 2
จอห์น แอสตัน ซีเนียร์ Flag of อังกฤษ LB 1946-1954 284(0) 284 30
อัลเลนบาย ชิลตัน Flag of อังกฤษ HB 1946-1955 391(0) 391 3
เฮนรี ค็อคเบิร์น Flag of อังกฤษ HB 1946-1954 275(0) 275 4
แจ็ค ครอมพ์ตัน Flag of อังกฤษ GK 1946-1956 212(0) 212 0
จิมมี่ ดีลานีย์ Flag of สกอตแลนด์ RW 1946-1950 184(0) 184 28
บิลลี่ แม็คเกล็น Flag of อังกฤษ HB 1946-1952 122(0) 122 2
ชาร์ลี มิทเท็น Flag of อังกฤษ LW 1946-1952 162(0) 162 61
จอห์น ดาวนี่ Flag of สกอตแลนด์ FW 1949-1953 116(0) 116 37
เรย์ วู้ด Flag of อังกฤษ LW 1949-1958 208(0) 208 0
ดอน กิ๊บสัน Flag of อังกฤษ HB 1950-1955 115(0) 115 0
มาร์ค โจนส์ Flag of อังกฤษ HB 1950-19528 121(0) 121 1
จอห์นนี่ เบอร์รี่ Flag of อังกฤษ RW 1951-1958 276(0) 276 45
แจ๊คกี้ บลานซ์ฟลาวเลอร์ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ HB 1951-1958 117(0) 117 27
โรเจอร์ ไบรน์ Flag of อังกฤษ LB 1951-1958 280(0) 280 20
เดวิด เพ็กก์ Flag of อังกฤษ LW 1952-1958 150(0) 150 28
บิลล์ โฟ้กส์ Flag of อังกฤษ HB/RB 1952-1970 685(3) 688 9
ทอมมี่ เทย์เลอร์ Flag of อังกฤษ FW 1953-1958 191(0) 191 131
เลียม วีแลน Flag of Ireland FW 1953-1958 98(0) 98 52
ดันแคน เอดเวิร์ด Flag of อังกฤษ HB 1953-1958 177(0) 177 21
เดนนิส ไวโอเล็ต Flag of อังกฤษ FW 1953-1962 293(0) 293 179
เฟรดดี้ กู๊ดวิน Flag of อังกฤษ HB 1954-1960 107(0) 107 8
อัลเบิร์ต สแคนลอน Flag of อังกฤษ LW 1954-1960 127(0) 127 35
เอ็ดดี้ คอลแมน Flag of อังกฤษ HB 1955-1958 108(0) 108 2
รอนนี่ โคพ Flag of อังกฤษ HB 1956-1961 106(0) 106 2
บ็อบบี้ ชาร์ลตัน Flag of อังกฤษ FW 1956-1973 756(2) 758 249
เดวิส แกสเคลล์ Flag of อังกฤษ GK 1956-1967 119(0) 119 0
แฮร์รี่ เกร็กก์ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ GK 1957-1966 247(0) 247 0
เชย์ เบร็นแนน Flag of Ireland RB 1958-1970 358(1) 359 6
อัลเบิร์ต ควิกซอลล์ Flag of อังกฤษ FW 1958-1963 183(0) 183 56
จอห์นนี่ กิลส์ Flag of Ireland CM 1959-1963 115(0) 115 13
น็อบบี้ สไตลส์ Flag of อังกฤษ HB 1959-1971 394(0) 394 19
มัวริซ เซ็ทเทอรส์ Flag of อังกฤษ HB 1960-1964 194(0) 194 14
โทนี่ ดันน์ Flag of Ireland FB 1960-1973 534(1) 535 2
โนเอล แคนท์เวลล์ Flag of Ireland LB 1960-1967 146(0) 146 8
เดวิด เฮิร์ด Flag of สกอตแลนด์ FW 1961-1968 264(1) 265 145
เดนิส ลอว์ Flag of สกอตแลนด์ FW 1962-1973 398(6) 404 237
เดวิด แซดเลอร์ Flag of อังกฤษ หลายตำแหน่ง 1962-1973 328(7) 335 27
แพ็ท ครีแรนด์ Flag of สกอตแลนด์ HB 1963-1971 397(0) 397 15
จอร์จ เบสต์ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ FW/W 1963-1974 470(0) 470 179
จอห์น คอนเนลลี่ Flag of อังกฤษ FW 1964-1966 112(1) 113 35
จอห์น ฟิทซ์แพทริค Flag of สกอตแลนด์ RB 1965-1973 141(6) 147 10
จอห์น แอสตัน Flag of อังกฤษ LW 1965-1972 166(21) 187 27
อเล็กซ์ สเต็ปนีย์ Flag of อังกฤษ GK 1966-1979 539(0) 539 2
ไบรอัน คิดด์ Flag of อังกฤษ FW 1967-1974 257(9) 266 70
ฟรานซิส เบิร์นส์ Flag of สกอตแลนด์ LB 1967-1972 143(13) 156 7
วิลลี่ มอร์แกน Flag of สกอตแลนด์ RW 1968-1975 293(3) 296 34
สตีฟ เจมส์ Flag of อังกฤษ HB 1968-1975 160(1) 161 4
แซมมี่ แมคอิลรอย Flag of ไอร์แลนด์เหนือ CM 1971-1982 391(28) 419 71
มาร์ติน บั๊คคั่น Flag of สกอตแลนด์ CB 1972-1983 456(0) 456 4
เดวิด แมคครีรี่ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ MF 1972-1979 57(53) 110 8
อเล็กซ์ ฟอร์ซิธ Flag of สกอตแลนด์ RB 1973-1978 116(3) 119 5
ลู มาคาริ Flag of สกอตแลนด์ MF/FW 1973-1984 374(27) 401 97
เจอร์รี่ ดาลี่ Flag of Ireland CM 1973-1977 137(5) 142 32
ไบรอัน กรีนฮอฟฟ์ Flag of อังกฤษ CB 1973-1979 268(3) 271 17
สจวร์ต ฮูสตัน Flag of สกอตแลนด์ LB 1974-1980 248(2) 250 16
สจวร์ต เพียร์สัน Flag of อังกฤษ FW 1974-1979 179(1) 180 66
อาเธอร์ อัลบิสตัน Flag of สกอตแลนด์ LB 1974-1988 467(18) 485 7
สตีฟ คอปเปลล์ Flag of อังกฤษ RW 1975-1983 393(3) 396 70
จิมมี่ นิโคลล์ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ RB 1975-1982 235(13) 248 6
กอร์ดอน ฮิลล์ Flag of อังกฤษ LW 1975-1978 133(1) 134 51
จิมมี่ กรีนฮอฟฟ์ Flag of อังกฤษ FW 1976-1980 119(4) 123 36
แอชลี่ย์ กริมส์ Flag of Ireland LB 1977-1983 77(30) 107 11
โจ จอร์แดน Flag of สกอตแลนด์ FW 1978-1981 125(1) 126 41
กอร์ดอน แม็คควีน Flag of สกอตแลนด์ CB 1978-1985 229(0) 229 26
แกรี่ เบลี่ย์ Flag of อังกฤษ GK 1978-1987 375(0) 375 0
มิคกี้ โทมัส Flag of เวลส์ LW 1978-1981 110(0) 110 15
เควิน มอแรน Flag of Ireland CB 1979-1988 284(5) 289 24
เรย์ วิลกิ้นส์ Flag of อังกฤษ CM 1979-1984 191(3) 194 10
ไมค์ ดั๊กบิวรี่ Flag of อังกฤษ RB 1980-1990 345(33) 378 7
จอห์น กิดแมน Flag of อังกฤษ RB 1981-1986 116(4) 120 4
แฟรงค์ สเตเปิลตัน Flag of Ireland FW 1981-1987 267(21) 288 78
เรมี่ มอส Flag of อังกฤษ CM 1981-1988 188(11) 199 12
ไบรอัน ร็อบสัน Flag of อังกฤษ CM 1981-1994 437(24) 461 99
นอร์แมน ไวท์ไซด์ Flag of ไอร์แลนด์เหนือ FW/CM 1982-1989 256(18) 274 67
พอล แม็คกรัธ Flag of Ireland CB 1982-1989 192(7) 199 16
มาร์ค ฮิวจ์ส Flag of เวลส์ FW 1983-1986, 1988-1995 453(14) 467 163
แกรม ฮอกก์ Flag of สกอตแลนด์ CB 1984-1988 108(2) 110 1
เคลย์ตัน แบล็คมอร์ Flag of เวลส์ หลายตำแหน่ง 1984-1994 201(44) 245 26
เจสเปอร์ โอลเซ่น Flag of เดนมาร์ก LW 1984-1988 149(27) 176 24
กอร์ดอน สตรั๊คคั่น Flag of สกอตแลนด์ RM 1984-1989 195(6) 201 38
ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ท Flag of อังกฤษ FW 1986-1988 83(23) 106 26
ไบรอัน แม็คแคลร์ Flag of สกอตแลนด์ FW 1987-1998 398(73) 471 127
สตีฟ บรูซ Flag of อังกฤษ CB 1987-1996 411(3) 414 51
ลี มาร์ติน Flag of อังกฤษ LB 1988-1994 84(25) 109 2
ลี ชาร์ป Flag of อังกฤษ LW 1988-1996 213(50) 263 36
มาล โดนากี Flag of ไอร์แลนด์เหนือ CB/LB 1988-1992 98(21) 119 0
ไมค์ ฟีแลน Flag of อังกฤษ หลายตำแหน่ง 1989-1994 127(19) 146 3
นีล เว็บบ์ Flag of อังกฤษ CM 1989-1992 105(5) 110 11
แกรี่ พัลลิสเตอร์ Flag of อังกฤษ CB 1989-1998 433(4) 437 15
พอล อินซ์ Flag of อังกฤษ CM 1989-1995 276(5) 281 29
เดนนิส เออร์วิน Flag of Ireland FB 1990-2002 511(18) 529 33
ไรอัน กิ๊กส์ Flag of เวลส์ LW 1991- 671(90) 761 144
อังเดร แคนเชลสกี้ส์ Flag of the Soviet Union/Flag of รัสเซีย RW 1991-1995 132(29) 161 36
พอล ปาร์คเกอร์ Flag of อังกฤษ RB 1991-1996 137(9) 146 2
ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล Flag of เดนมาร์ก GK 1991-1999 398(0) 398 1
แกรี่ เนวิลล์ Flag of อังกฤษ RB 1992- 516(27) 543 7
เดวิด เบ็คแฮม Flag of อังกฤษ RM 1992-2003 356(38) 394 85
นิคกี้ บัตต์ Flag of อังกฤษ CM 1992-2004 307(79) 386 26
เอริค คันโตน่า Flag of ฝรั่งเศส FW 1992-1997 184(1) 185 82
รอย คีน Flag of Ireland CM 1993-2005 458(22) 480 51
เดวิด เมย์ Flag of อังกฤษ CB 1994-2003 98(20) 118 8
พอล สโคลส์ Flag of อังกฤษ CM 1994- 478(96) 574 139
แอนดรูว์ โคล Flag of อังกฤษ FW 1995-2001 231(44) 275 121
ฟิล เนวิลล์ Flag of อังกฤษ หลายตำแหน่ง 1995-2005 301(85) 386 8
รอนนี่ ยอห์นเซ่น Flag of นอร์เวย์ CB/CM 1996-2002 131(19) 150 9
โอเล่ กุนนาร์ โซลชา Flag of นอร์เวย์ FW 1996-2007 216(150) 366 126
เท็ดดี้ เชอริงแฮม Flag of อังกฤษ FW 1997-2001 101(52) 153 46
เฮนนิ่ง เบิร์ก Flag of นอร์เวย์ CB 1997-2000 81(22) 103 3
เวสต์ บราวน์ Flag of อังกฤษ RB/CB 1998- 273(36) 309 3
ยาป สตัม Flag of the Netherlands CB 1998-2001 125(2) 127 1
ดไวท์ ยอร์ก Flag of ตรินิแดดและโตเบโก FW 1998-2002 120(32) 152 66
ควินตัน ฟอร์จูน Flag of สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ LW/LB 1999-2006 88(38) 126 11
มิคาเอล ซิลแวสต์ Flag of ฝรั่งเศส LB/CB 1999-2008 326(35) 361 10
จอห์น โอเชีย Flag of Ireland หลายตำแหน่ง 1999- 217(75) 292 12
ฟาเบียง บาร์กเตซ Flag of ฝรั่งเศส GK 2000-2004 139(0) 139 0
รุด ฟาน นิสเตลรอย Flag of the Netherlands FW 2001-2006 200(19) 219 150
ริโอ เฟอร์ดินานด์ Flag of อังกฤษ CB 2002- 267(4) 271 7
ดาร์เร็น เฟล็ตเชอร์ Flag of สกอตแลนด์ CM/RM 2003- 130(46) 176 11
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ Flag of โปรตุเกส/Flag of มาเดรา W/FW 2003-2009 196(43) 239 91
หลุยส์ ซาฮา Flag of ฝรั่งเศส W/FW 2004-2008 76(48) 124 42
เวย์น รูนีย์ Flag of อังกฤษ FW 2004- 174(18) 192 101
เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์ Flag of the Netherlands GK 2005- 146(0) 146 0
ปาทริก เอวร่า Flag of ฝรั่งเศส LB 2006- 89(13) 102 2
เนมันย่า วิดิช Flag of เซอร์เบีย CB 2006- 98(4) 102 6
ไมเคิ่ล คาร์ริค Flag of อังกฤษ CM 2006- 88(15) 103 8

[แก้] เกียรติประวัติ

ตัวเลขฤดูกาลตามปีค.ศ.

  • 1907-08, 1910-11, 1951-52, 1955-56, 1956-57, 1964-65, 1966-67, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1996-97, 1998-99, 1999-2000, 2000-01, 2002-03, 2006-07, 2007-08, 2008-09
  • 1935-36, 1974-75
  • 1909, 1948, 1963, 1977, 1983, 1985, 1990, 1994, 1996, 1999, 2004
  • 1992, 2006, 2009
  • 1968, 1999, 2008
  • 1991
  • อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ: 1
  • 1999
  • ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ: 1
  • 2008
  • ยูโรเปี้ยนซูเปอร์คัพ: 1
  • 1991
  • แชริตี้ชิลด์/คอมมูนิตี้ชิลด์: 17 (13 แชมป์เดี่ยว, 4 แชมป์ร่วม*)
  • 1908, 1911, 1952, 1956, 1957, 1965*, 1967*, 1977*, 1983, 1990*, 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007, 2008
  • BBC Sports Personality of the Year Team Award
  • 1968 & 1999

[แก้] สถิติที่สำคัญของสโมสร

(สถิติล่าสุดเมื่อ 10 พฤษภาคม 2552)

[แก้] สถิติลงเล่นมากที่สุด

(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)

อันดับ รายชื่อ ฤดูกาล ลงเล่น ประตู
1 Flag of เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์ 1990 - ปัจจุบัน 819 151
2 Flag of อังกฤษ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน 1953 - 1973 758 249
3 Flag of อังกฤษ บิลล์ โฟ้กส์ 1950 - 1970 688 9
4 Flag of อังกฤษ พอล สโคลส์ 1993 - ปัจจุบัน 618 144
5 Flag of อังกฤษ แกรี่ เนวิลล์ 1992 - ปัจจุบัน 581 7
6 Flag of อังกฤษ อเล็กซ์ สเต็ปนี่ย์ 1966 - 1978 539 2
7 Flag of Ireland โทนี่ ดัน 1960 - 1973 535 2
8 Flag of Ireland เดนิส เออร์วิน 1990 - 2002 529 33
9 Flag of อังกฤษ โจ สเปนซ์ 1919 - 1933 510 168
10 Flag of สกอตแลนด์ อาเธอร์ อัลบิซตัน 1974 - 1988 485 7

[แก้] สถิติทำประตูสูงสุด

อันดับ รายชื่อ ฤดูกาล ลงเล่น ประตู
1 Flag of อังกฤษ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน 1953 - 1973 758 249
2 Flag of สกอตแลนด์ เดนิส ลอว์ 1962 - 1973 404 237
3 Flag of อังกฤษ แจ็ก โรว์ลีย์ 1937 - 1955 424 211
4= Flag of อังกฤษ เดนนิส ไวโอเล็ต 1949 - 1962 293 179
4= Flag of ไอร์แลนด์เหนือ จอร์จ เบสต์ 1963 - 1974 470 179
6 Flag of อังกฤษ โจ สเปนซ์ 1919 - 1933 510 168
7 Flag of เวลส์ มาร์ก ฮิวจ์ส 1980 - 1986, 1988 - 1995 467 163
8 Flag of เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์ 1990 - ปัจจุบัน 819 151
9 Flag of the Netherlands รุด ฟาน นิสเตลรอย 2001 - 2006 219 150
10 Flag of อังกฤษ แสตน เพียร์สัน 1935 - 1954 343 148

[แก้] สถิติของสโมสร

สถิติอื่นๆ

  • ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา (1991-2009) เป็นสโมสรเดียวที่จบฤดูกาลไม่ต่ำกว่าอันดับ 3
  • ทำแต้มในลีกรวมทุกลีก ได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาล (5621 แต้ม อันดับ 2 และ 3 คือลิเวอร์พูลและอาร์เซน่อล ได้ 5565 และ 5392 แต้มตามลำดับ)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ WHO'S THE GREATEST?, 4thegame.com, 27 กรกฎาคม 2544 (อังกฤษ)
  2. ^ European Football Statistics (อังกฤษ)
  3. ^ 3.0 3.1 Glazer gets 98% of Man Utd shares บีบีซีนิวส์ 28 มิถุนายน 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
  4. ^ Glazer wins control of Man United บีบีซีนิวส์ 12 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
  5. ^ Tycoon seizes control of Man Utd, ซีเอ็นเอ็น 12 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
  6. ^ Glazer Man Utd stake exceeds 75% บีบีซีนิวส์ 16 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
  7. ^ Man Utd shares leave stock market บีบีซีนิวส์ 22 มิถุนายน 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
  8. ^ Fans rage at Glazer takeover move บีบีซีนิวส์ 13 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

  • ManUtd.com เว็บไซต์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างเป็นทางการ (อังกฤษ)
  • Red Army Fanclub ชมรม Red Army Fanclub
  • Manu-club.com เว็บไซต์แฟนคลับแมนฯ ยูไนเต็ด
  • [1]

Powered by MediaWiki
Wikimedia Foundation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น